การเลี้ยงปลาช่อน : โรคของปลาช่อน และการป้องกัน
1. โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ของปลาช่อน คือ แอโรโมนาส, โฮโดรฟิลา, เฟลคซิแบคเตอร์, คอลัมนาริส, และไมโคแบคมีเรียม อาหารของโรคโดยทั่วไปที่พบ ได้แก่ ผิวหนังบริเวณเกร็ดเกิดแผลที่มีลักษณะช้ำเป็นจุดแดง ๆ สีลำตัวซีด หรือด่างขาวเมือกมากผิดปกติ, เกร็ดหลุด, แผลเน่าเปื่อย, ว่ายน้ำผิดปกติ, เสียการทรงตัวหรือตะแคงข้าง, เอาตัวซุกขอบบ่อ, ครีบเปื่อยแหว่ง, ตาฝางหรือตาขุ่นขาว, ตาบอด, ปลาช่อนจะกินอาหารน้อยลง
2. โรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก
โรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก อาทิเช่น เห็บระฆัง, เห็บระฆัง, ปริงใส ฯลฯ พยาธิ เห็บระฆังจะทำให้ปลาช่อนเกิดอาการระคายเคือง เป็นแผลขนาดเล็กตามผิวและเหงือก การรักษา โดยใช้ฟอร์มาลิน 150-200 cc ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ประมาณ 1 ชั่วโมง หรือ 25-50 cc ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ประมาณ 24 ชั้วโมง
3. โรคที่เกิดจากพยาธิภายใน
โรคที่เกิดจากพยาธิภายใน เช่น พยาธิหัวหนาม พบในลำใส้ ลักษณะอาการตัวผอมและกินอาหารลดลง การรักษา ใช้ยาถ่ายพยาธิ แต่ทางที่ดีควรใช้วิธีป้องกัน
วิธีการป้องกันโรคปลาช่อน
ในฟาร์มที่มีการจัดการที่ดีจะไม่ค่อยประสบปัญหาปลาช่อนเป็นโรค แต่ในฟาร์มที่มีการจัดการไม่ดี ปัญหาปลาช่อนเป็นโรคตายมักจะเกิดขึ้นเสมอ บางครั้งปลาช่อนตายในระหว่างการเลี้ยงสูงถึง 60-70 เปอร์เซ็นต์ ประกอบกับปลาเป็ดที่นำมาใช้เลี้ยงในปัจจุบันคุณภาพมักจะไม่สดเท่าที่ควร และหากมีเศษอาหารเหลือตกค้างในบ่อจะทำให้น้ำในบ่อเกิดการเน่าเสียเป็นเหตุให้ปลาช่อนตาย ดังนั้นจึงควรมีวิธีการป้องกัน ดังนี้ คือ1. ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสมและปลอดภัยก่อนปล่อยลูกปลาช่อน
2. ซื้อพันธุ์ปลาช่อนที่มีสุขภาพแข็งแรงและปราศจากโรค
3. หมั่นตรวจดูอาการของปลาช่อนอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุแก้ไขโดยเร็ว
4. เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับพื้นบ่ออย่างสม่ำเสมอ
5. อย่าให้อาหารมากเกินความต้องการของปลา
6. หลังจากปล่อยน้ำลงบ่อเลี้ยงปลาช่อนแล้ว 3-4 วัน ควรราดน้ำยาฟอร์มาลิน 2-3 ลิตร ต่อน้ำ 100 ตัน และหากปลาช่อนที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้แก้ไขโดยลาดน้ำยาฟอร์มาลินในอัตรา 4-5 ลิตร ต่อน้ำ 100 ตัน (การใช้น้ำยาฟอร์มาลิน ควรจะระวังเรื่องปริมาณออกซิเจนในน้ำ ถ้าออกซิเจนต่ำควรมีการให้อากาศด้วย
* * * * *